วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความรัก

เหมือน ๆ กับ "ความรัก" ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่เราได้มันมาง่าย ๆ บ่อยครั้งเราก็อาจหลงลืม ละเลยมันไป เพราะคิดเพียงแต่ว่าอะไรที่ได้มาง่าย ๆ มันไม่มีคุณค่า ไม่ต้องใช้ความพยายาม จนเวลาล่วงเลยผ่าน...สุดท้ายต้องสูญเสียไป ถึงจะรู้สึกเสียใจที่ปล่อยให้หลุดมือ รวมทั้งเริ่มจะมองเห็นถึงคุณค่ามากขนาดไหน ขณะเดียวกัน คนบางคนก็ให้คุณค่าของความรักเกินความจำเป็น จนละเลยตัวเอง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เพราะมัวแต่คอยจะวิ่งตามความรักหรือคนรักอยู่ตลอดเวลา

          ทางที่ดีลองหยุดแล้วหันกลับมาสำรวจตัวเองดูว่า สิ่งที่เราทำลงไปมันดีแล้วใช่ไหม...มันถูกแล้วใช่ไหม...มันใช่แล้วใช่ ไหม...มันมีความสุขใช่ไหม?

          ใช้ สติค่อย ๆ คิดทบทวน ก่อนจะถามใจตัวเองดูว่าอยากเป็นคนที่มีคุณค่าหรือไร้คุณค่า ท้ายที่สุดอย่าลืมว่าความรักไม่ใช่เรื่องง่ายหรือยาก เพราะทุกสิ่งทุกอย่างทั้งความรู้สึก ความนึกคิด และการกระทำ เราเองเป็นคนเลือกทั้งหมด จะสุขหรือทุกข์ จะยิ้มหรือร้องไห้...ก็เลือกเอาเอง

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โรคร้ายที่พบในเด็ก

นิวโมคอคคัส และ เอ็นทีเอชไอ เชื้อทั้ง 2 ชนิดนี้พบได้ทั่วไปในโพรงจมูกและลำคอ โดยทั่วไปจะไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าเมื่อใดที่ร่างกายลูกอ่อนแอ เชื้อทั้ง 2 นี้ก็จะก่อให้เกิดโรคอันตราย คือ โรคหูชั้นกลางอักเสบ โรคไอพีดี และโรคปอดบวม การติดต่อง่ายมากโดยผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย คล้ายไข้หวัด เช่น เวลาไอหรือจาม เป็นเชื้อโรคที่อยู่ในอากาศได้นานกว่าปกติ
โรคหูชั้นกลางอักเสบ เป็นภัยเงียบที่อันตรายจากการติดเชื้อนิวโมคอคคัสและเอ็นทีเอชไอ เด็กจะติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งเชื้อโรคจะกระจายเข้าสู่ท่อยูสเตเชี่ยน ซึ่งเป็นท่อเล็ก ๆ ที่เชื่อมระหว่างหูชั้นกลางกับโพรงหลังจมูก หากมีการอักเสบที่หูชั้นกลางเชื้อจะกระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ เช่น จากหูไปสู่สมอง ทำให้เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือฝีในสมองได้    พบ ว่า 80% ของเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี มีโอกาสเกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบอย่างน้อย 1 ครั้ง และยิ่งเป็นเด็กเล็กที่ยังบอกไม่ได้พ่อแม่ยิ่งต้องระวัง เพราะหากปล่อยไว้จนมีอาการอักเสบจนบวมและปวดหูมาก อาจเกิดความพิการทางการได้ยิน ส่งผลต่อเนื่องต่อพัฒนาการทางภาษา การเรียนรู้ และคุณภาพชีวิตตามมา
 โรคไอพีดี เป็นโรคติดเชื้อรุนแรงจากเชื้อนิวโมคอคคัสที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมอง อักเสบ และโรคติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งเด็กหรือผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคนี้ มีโอกาสเสียชีวิตหรือมีความพิการทางสมอง
โรคปอดบวม จากข้อมูลการประเมินขององค์การอนามัยโลกและองค์การยูนิเซฟพบว่า ปอดบวมเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นอันดับ 1 ของโลก โดยมีเด็กเสียชีวิตสูงถึง 2 ล้านคนต่อปี เนื่องจากโรคปอดบวมทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายจากปอดอักเสบ จนเกิดภาวะน้ำหรือหนองในช่องเยื่อหุ้มปอ ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดที่รุนแรง และภาวะช็อก