วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การบอกรักแม่ของลูกน้อย

มื่อลูกน้อยไม่สามารถพูกบอกรักคุณแม่ได้แต่ลูกน้อยสามารถแสดงอาการที่บอกเราได้ว่ารักคุณแม่นะคะ ซึ่งอาการที่จะแสดงออกนั้นคือ

สบตาปิ๊ง...ปิ๊ง แล้วยิ้มให้

           หนู น้อยในวัยนี้ แค่ได้ยินเสียงของคุณแม่ ก็จะรู้สึกตื่นเต้นและอยากจะพูดคุยด้วย ซึ่งในวัยนี้ดวงตาเล็ก ๆ จะมองเห็นได้ชัดเจนเพียงระยะแค่ 8-9 นิ้วเท่านั้น ดังนั้นการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีให้เขาก็คือ ช่วงเวลาให้นมลูกค่ะ ทั้งจากสัมผัสอันอ่อนโยนจากอ้อมแขน การมองหน้า สบตา และพูดคุยในขณะให้นม จะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 และมอบความรักความอุ่นให้กับลูก เมื่อได้รับความรักและการดูแลใจใส่อย่างเต็มที่แล้ว เขาก็จะมีความสุขและเริ่มส่งสัญญาณบอกแม่ว่า "หนูก็รักแม่นะ" ด้วยการมองหน้า สบตา และยิ้มตอบกลับมาให้ค่ะ

แม่หนูอยู่ไหน

           พอ เข้าสู่เดือนที่ 3-4 เวลานอนคว่ำลูกน้อยจะสามารถใช้มือยันอก พ้นพื้นได้ ช่วงวัยนี้ คุณแม่ควรปล่อยให้ลูกนอนคว่ำ หรือจับอุ้มพิงอกในท่านั่ง เพราะจะเป็นการฝึกชันคอได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ หนูน้อยก็มีพัฒนาการ ด้านการมองเห็นที่ดีขึ้น เริ่มมองตามสิ่งต่างๆ ได้ ดังนั้น ควรหาของเล่นมีเสียงมาเล่นกับลูก ด้วยการจับย้ายไปมาซ้ายขวาให้มองตามเสียง และเอื้อมมือ คว้าจับระหว่างเล่น ก็อาจมีการพูดเย้าแหย่ตามภาษาแม่ลูก แม้จะพูดไม่เป็นภาษา แต่ก็จะมีเสียงอ้อแอ้และรอยยิ้มเล็กๆ น่ารักโต้ตอบกลับมาว่า "หนูรักแม่จังเลย"

ส่งเสียงโต้ตอบได้แล้ว

           ใน วัย 5-6 เดือน ลูกน้อยสามารถพลิกนอนคว่ำหงายได้เอง และนั่งเอามือยันพื้นได้ มองเห็นได้ไกลยิ่งขึ้น ที่สำคัญ เขาสามารถส่งเสียงโต้ตอบเหมือนกับพูดกับคุณแม่รู้เรื่องเลยทีเดียวล่ะ เพราะมีความเข้าใจทางภาษามากยิ่งขึ้น ฉะนั้นถ้าอยากให้ลูกเป็นเด็กพูดเก่ง ฉลาด คุณแม่ก็ควรพูดคุยโต้ตอบกับลูกด้วยเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ และชัดเจน สัญญาณบอกรักก็ไม่แตกจากวัยที่ผ่านมาค่ะ อย่างเวลาที่คุณแม่เล่านิทาน หรือร้องเพลงพูดคุยกับลูก เขาก็จะสื่อสารโต้ตอบกลับมาเป็นเสียงอ้อแอ้ และส่งเสียงหัวเราะมากกว่าเดือนที่ผ่านอีกค่ะ

คืบคลานหาแม่


           เริ่ม เข้าสู่วัย 7-9 เดือน เขาจะนั่งทรงตัวและเริ่มคืบคลานได้เอง วัยนี้เป็นวัยที่ลูกน้อยชอบทำเสียงเลียนแบบ เช่น สัตว์ต่าง ๆ เวลาที่คุณแม่อ่านนิทานให้เขาฟัง หรือจะนำของเล่นชิ้นโปรดวางไว้ และเรียกชื่อเขา เพียงไม่นานก็จะรีบคลานมาหยิบไปเล่นค่ะ สัญญาณบอกเลิฟของลูกในวัยนี้ ก็เวลาที่คุณแม่เรียกชื่อเขา เพียงไม่นานก็จะคลานมาหาพร้อมแจกรอยยิ้มหวาน ๆ ให้คุณแม่ค่ะ ถ้าอยากได้รับรอยยิ้มแบบนี้บ่อย ๆ ก็กระตุ้นด้วยคำชมเชยทุก ๆ ครั้ง

สัมผัสอันอบอุ่น

           ยิ่ง คุณแม่โอบกอดลูกน้อยด้วยสัมผัสอันอ่อนโยนมากเท่าไหร่ ลูกน้อยก็ยิ่งรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และมีความสุขมากยิ่งขึ้นเท่านั้นค่ะ และทำให้เป็นเด็กอารมณ์ดี เลี้ยงง่าย มีรอยยิ้มหวาน ๆ แจกให้คนรอบข้างอยู่เสมอ และที่สำคัญ เขาก็จะรักคุณแม่มากยิ่ง ๆ ขึ้นด้วย

ที่มา : http://baby.kapook.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น