วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

ลูกนอนสะดุ้ง

ลูกนอนสะดุ้ง




          นอนสะดุ้งเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับโดยอัตโนมัติ (Reflex) ของเด็กทารกทุกคน แค่คุณแม่ ทำให้เกิดเสียงดัง หรือทำให้เกิดการสั่นสะเทือนกับบริเวณที่ลูกนอนอยู่เบาๆ ลูกน้อยจะมีปฏิกิริยาตอบกลับด้วยการขยับแขนขาในทันที  ดังนั้น เมื่อมีสิ่งมากระตุ้น เช่น เสียงพูดคุยหรือเปิดประตู ก็อาจทำให้ลูกสะดุ้งตกใจได้ เมื่อลูกโตขึ้นปฏิกิริยาเหล่านี้ก็จะค่อยๆ หายไป ไม่แนะนำให้ใช้ผ้าห่มปิดทับหน้าอก เพื่อกันการสะดุ้งหรือผวาให้ลูกน้อย เพราะบ้านเราเป็นเมืองร้อน อาจทำให้เหงื่อออกเกิดการอับชื้น เป็นผดผื่นที่ผิวหนังตามมาได้
การแก้ไขลูกนอนสะดุ้งสิ่งที่คุณแม่ต้องดูแล เช่น
1.     ลูกดูดขวดนมเปล่าหลังนมหมดไม่ดึงออก ทำให้ลมเข้าท้องน้องหนูท้องอืดโดยคุณแม่ไม่ทราบ
2.     ตรวจดูว่าจุกนม เหมาะกับวัยของหนูหรือไม่ เพราะน้ำนมไหลเร็ว หรือ ช้า ทำให้หนูเหนื่อย ทุกครั้งที่ดูดนม
3.     อย่าปิดฝานมจนแน่นเกิน เพราะหนูต้องใช้แรงดูด มากกว่าปรกติ ทำให้หนูเหนื่อย และอาจฝันร้าย
4.     สำคัญมากที่คุณแม่ละเลย ถ้าหนูทานอาหารย่อยยาก ท้องใส้ปั่นป่วน ควรดูแลให้อาหารเหมาะสมต่อการทำงาน
        ของร่างกาย เช่น คุณแม่มักให้ลูกทานไข่ตั้งแต่ 6 เดือน โดยไม่รู้ว่าไข่แดง ไม่เหมาะสมกับวัยนี้ เพราะย่อยยาก
4.     ตรวจดูหนูหน่อยคะว่าใส่ผ้าอ้อมกันเปือกชื้นให้หนูหรือไม่ ถ้าใส่แล้วตรวจดูว่าคุณภาพดีซืมซับเร็วหรือเปล่า
        เพราะหนูไม่ชอบเปือกชื้น
5.     ไม่เล่นโลดโผน ให้หนูตกใจบ่อย ๆ เพราะหนูอาจเป็นเด็กขวัญอ่อน ( ปรกติทั่วไปในเด็กทารกถึง 3 ขวบ )
6.     ถ้าหนูไม่เคยฝึกนอนคว่ำตั้งแต่แรกเกิด ให้นอนตะแคงขวา หาผ้าห่มบริเวณหน้าอก โดยเอาแขนมาทับไว้
7.     ถ้าคุณแม่ให้นอนหงาย ให้ใช้ผ้าวางบนหน้าอกและด้านข้างให้รอบข้างสัมผัสในลักษณะห่อตัวเล็กน้อย

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์

การวางแผนเพื่อเตรียมตัวที่จะให้กำเนิดลูกน้อยเป็นเรื่องสำคัญที่คู่สมรส สามารถทำได้ นอกจากจะทำให้คุณมีโอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์แล้ว คุณยังสามารถมีโอกาสได้ลูกน้อยซึ่งสมบูรณ์ และเป็นปรกติที่สุดอีกด้วย โดยคุณทั้งคู่ควรวางแผนอย่างน้อย 3 เดือนล่วงหน้าก่อนเริ่มตั้งครรภ์ เพียงแค่ดูแลตัวเองและเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการให้กำเนิดและการเติบโต ของชีวิตน้อยๆ  ส่วนคู่รักของคุณ เพียงแค่แน่ใจว่าอสุจิของเขาแข็งแรงพอที่จะวิ่งไปถึงเส้นชัยก็พอแล้ว
1. ตรวจสอบร่างกายเพื่อป้องกันโรคต่างๆเช่น
1) โรคประจำตัว
หากคุณมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ, โรคลมชัก, โรคหืด, โรคไต ควรปรึกษาแพทย์ก่อนมีครรภ์เสมอ เพราะอาจต้องเปลี่ยนยาซึ่งอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ หรืออาจทำให้ตั้งครรภ์ได้ยาก คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะถ้าได้แพทย์ดูแลคุณอย่างใกล้ชิด ก็มีโอกาสที่จะมีลูกที่สมบูรณ์ได้
2) หัดเยอรมัน (Rubella)
หาก คุณไม่เคยมีภูมิต้านทานโรคหัดเยอรมันและติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก เพราะเป็นช่วงที่ทารกกำลังสร้างอวัยวะภายในที่ซับซ้อน จะทำให้ลูกมีโอกาสเกิดความพิการได้ เช่นหูหนวก, ตาบอด, สมองเล็ก, หัวใจรั่ว หากเป็นไปได้ควรให้แพทย์ตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมันก่อนการตั้งครรภ์ เสมอ ถ้ายังไม่มีภูมิคุ้มกัน แพทย์จะฉีดวัคซีนให้และคุณควรคุมกำเนิดหลังฉีดวัคซีนนี้อย่างน้อย 3 เดือน (ถ้าคุณตั้งครรภ์แล้ว ห้ามฉีดวัคซีนนี้ตลอดระยะการตั้งครรภ์)
3) โรคทางกรรมพันธุ์
ตาม ประวัติของครอบครัวคุณทั้งสองฝ่ายมีโรคกรรมพันธุ์หรือไม่ เพราะโรคบางชนิดสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เช่น ฮีโมฟีเลีย (Haemophilia) คือโรคที่เลือดไหลไม่หยุด เกิดจากการขาดสารที่ช่วยในการสร้างลิ่มเลือดในตับ ดังนั้น หากมีบาดแผลเกิดขึ้นที่ใดก็ตามเลือดจะออกไม่หยุด หรือโรคทาลัสซีเมีย (Thalassemia) คือโรคโลหิตจาง หรือโรคซีด ในประเทศไทยมีคนเป็นโรคนี้มากโดยเฉพาะแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสาน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ลูกคุณก็มีโอกาสเป็นโรคเหล่านี้ได้ ฉะนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์ และอาจต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมโดยเฉพาะ เพื่อตรวจสอบว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้มากน้อยเพียงใด

2.อาหารและการออกกำลังกาย:
การมีน้ำหนักมากหรือน้อยเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ เพราะฉะนั้นควรออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่หลากหลายอย่างเหมาะสมเพื่อ ช่วยให้ร่างกายอยู่ในสภาพพร้อมเต็มที่สำหรับการตั้งครรภ์ลูกน้อย
หาก เป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารที่มีไขมันหรือน้ำตาลมากเกิน ไป นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญกับอาหารที่มีคุณค่าดังนี้
ทานผักและผลไม้มากๆ หรืออย่างน้อย 5 ส่วนต่อวันและควรเลือกทานผักและผลไม้หลากหลายสีสัน
ทาน อาหารประเภทแป้งให้เพียงพอ เช่น ขนมปัง พาสต้า ข้าว (ถ้าเป็นข้าวกล้องหรือขนมปังโฮลเกรน จะยิ่งดีเพราะมีโฟเลตสูง) ข้าวโอ๊ต และมันฝรั่ง
ทานอาหารประเภทโปรตีนทุกมื้อ เช่น หมูหรือไก่ไม่ติดมัน ปลา (สัปดาห์ละสองครั้ง) นม ไข่ ผลไม้ที่มีเปลือกแข็ง  (เช่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์) เมล็ดพืชและถั่ว (เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง)

3.วิตามินเสริม:
หากคุณรับประทานอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสมแล้ว ก็อาจไม่จำเป็นต้องทานวิตามินเสริมอีกก็ได้ แต่หากต้องการทาน  ควรสอบถามให้แน่ใจว่าวิตามินเหล่านั้นเหมาะสำหรับสตรีที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ หรือไม่ โดยทั่วไปวิตามินเสริมที่รับประทานเป็นประจำ มักมีส่วนผสมของวิตามินเอ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้หากรับประทานมากเกินไป
4. น้ำหนักตัว
ถ้าเป็นไปได้คุณแม่ควรมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เมื่อคิดตามส่วนสูงเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนก่อนตั้งครรภ์ ถ้าน้ำหนักมากหรือน้อยเกินไป ควรพบแพทย์เพื่อควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม ระหว่างตั้งครรภ์ไม่ควรลดความอ้วน เพราะจะทำให้ทารกขาดสารอาหารที่จำเป็น
5. อายุ
อายุ ที่เหมาะสมจะมีบุตรของผู้หญิงเราคือ อายุ 20 - 30 ปี แต่ปัจจุบันผู้หญิงแต่งงานช้าลงและมีบุตรเมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้น หากคิดจะมีลูกเมื่ออายุเกิน 35 ปี ควรปรึกษาแพทย์ เพราะยิ่งมีลูกตอนอายุมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะมีลูกยากหรือมีลูกไม่สมบูรณ์ก็สูงขึ้นเท่านั้น
6. เวลา
หาก คุณทั้งคู่ทำงานหนัก แทบจะไม่มีเวลาพักผ่อน หรือแม้กระทั่งเวลาส่วนตัว คงต้องคิดทบทวนดูให้ดีก่อนจะมีลูก เพราะเด็กๆ ต้องการความรัก, ต้องการเวลา และความอบอุ่นจากพ่อแม่ เพื่อคอยดูแลเอาใจใส่เค้าตั้งแต่เป็นทารกแรกเกิดจนเติบโต เวลาสำหรับสังสรรค์กับเพื่อน, เข้าสังคม เที่ยวเตร่เฮฮา หรือแม้แต่เวลาส่วนตัวจะลดน้อยลงเต็มทีเมื่อคุณมีลูก
7. การเงิน
คุณ ควรคำนึงถึงความสามารถในการหารายได้ และขนาดของครอบครัวที่คุณต้องการว่าเหมาะสมกันแค่ไหน เพราะค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูลูก เรื่องอาหารการกินอยู่ เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ จิปาถะฯ ปรกติจะตกประมาณ 15 - 25% ของรายได้ครอบครัว หากคิดจะมีลูกก็ควรวางแผนในการเก็บเงิน และการใช้จ่ายเงินทองให้ดี เพื่อจะได้ไม่ทำให้เกิดภาวะการเงินฝืดเคืองจนมีหนี้สินจำนวนมาก เป็นการนำความเครียดมาสู่ครอบครัวโดยใช่เหตุ