วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความรัก

เหมือน ๆ กับ "ความรัก" ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่เราได้มันมาง่าย ๆ บ่อยครั้งเราก็อาจหลงลืม ละเลยมันไป เพราะคิดเพียงแต่ว่าอะไรที่ได้มาง่าย ๆ มันไม่มีคุณค่า ไม่ต้องใช้ความพยายาม จนเวลาล่วงเลยผ่าน...สุดท้ายต้องสูญเสียไป ถึงจะรู้สึกเสียใจที่ปล่อยให้หลุดมือ รวมทั้งเริ่มจะมองเห็นถึงคุณค่ามากขนาดไหน ขณะเดียวกัน คนบางคนก็ให้คุณค่าของความรักเกินความจำเป็น จนละเลยตัวเอง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เพราะมัวแต่คอยจะวิ่งตามความรักหรือคนรักอยู่ตลอดเวลา

          ทางที่ดีลองหยุดแล้วหันกลับมาสำรวจตัวเองดูว่า สิ่งที่เราทำลงไปมันดีแล้วใช่ไหม...มันถูกแล้วใช่ไหม...มันใช่แล้วใช่ ไหม...มันมีความสุขใช่ไหม?

          ใช้ สติค่อย ๆ คิดทบทวน ก่อนจะถามใจตัวเองดูว่าอยากเป็นคนที่มีคุณค่าหรือไร้คุณค่า ท้ายที่สุดอย่าลืมว่าความรักไม่ใช่เรื่องง่ายหรือยาก เพราะทุกสิ่งทุกอย่างทั้งความรู้สึก ความนึกคิด และการกระทำ เราเองเป็นคนเลือกทั้งหมด จะสุขหรือทุกข์ จะยิ้มหรือร้องไห้...ก็เลือกเอาเอง

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โรคร้ายที่พบในเด็ก

นิวโมคอคคัส และ เอ็นทีเอชไอ เชื้อทั้ง 2 ชนิดนี้พบได้ทั่วไปในโพรงจมูกและลำคอ โดยทั่วไปจะไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าเมื่อใดที่ร่างกายลูกอ่อนแอ เชื้อทั้ง 2 นี้ก็จะก่อให้เกิดโรคอันตราย คือ โรคหูชั้นกลางอักเสบ โรคไอพีดี และโรคปอดบวม การติดต่อง่ายมากโดยผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย คล้ายไข้หวัด เช่น เวลาไอหรือจาม เป็นเชื้อโรคที่อยู่ในอากาศได้นานกว่าปกติ
โรคหูชั้นกลางอักเสบ เป็นภัยเงียบที่อันตรายจากการติดเชื้อนิวโมคอคคัสและเอ็นทีเอชไอ เด็กจะติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งเชื้อโรคจะกระจายเข้าสู่ท่อยูสเตเชี่ยน ซึ่งเป็นท่อเล็ก ๆ ที่เชื่อมระหว่างหูชั้นกลางกับโพรงหลังจมูก หากมีการอักเสบที่หูชั้นกลางเชื้อจะกระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ เช่น จากหูไปสู่สมอง ทำให้เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือฝีในสมองได้    พบ ว่า 80% ของเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี มีโอกาสเกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบอย่างน้อย 1 ครั้ง และยิ่งเป็นเด็กเล็กที่ยังบอกไม่ได้พ่อแม่ยิ่งต้องระวัง เพราะหากปล่อยไว้จนมีอาการอักเสบจนบวมและปวดหูมาก อาจเกิดความพิการทางการได้ยิน ส่งผลต่อเนื่องต่อพัฒนาการทางภาษา การเรียนรู้ และคุณภาพชีวิตตามมา
 โรคไอพีดี เป็นโรคติดเชื้อรุนแรงจากเชื้อนิวโมคอคคัสที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมอง อักเสบ และโรคติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งเด็กหรือผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคนี้ มีโอกาสเสียชีวิตหรือมีความพิการทางสมอง
โรคปอดบวม จากข้อมูลการประเมินขององค์การอนามัยโลกและองค์การยูนิเซฟพบว่า ปอดบวมเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นอันดับ 1 ของโลก โดยมีเด็กเสียชีวิตสูงถึง 2 ล้านคนต่อปี เนื่องจากโรคปอดบวมทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายจากปอดอักเสบ จนเกิดภาวะน้ำหรือหนองในช่องเยื่อหุ้มปอ ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดที่รุนแรง และภาวะช็อก

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วิธีแก้ปัญหาลูกท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง

ปัญหาที่พบบ่อยในทารก ไม่ว่าจะแรกเกิด หรือในระยะเวลาต่อมาคือ “อาการแน่นท้อง ท้องอืด มีลมในท้อง” ทำให้ทารกร้องกวน บางครั้งในกระเพาะมีลมมาก ทารกจะร้องเป็นพัก ๆ เมื่อให้ดูดนมก็จะดูด แต่พอถึงระยะปวดท้องเพราลมดัน จะคายหัวนมออก และร้องดิ้นไม่ยอมหลับ ถ้าทารกไม่อาเจียน ไม่มีอาการถ่านอุจจาระเหลว อาจเป็นอาการ “ท้องอืด” เพราะทารกดูดลมเข้าไปในกระเพาะ ซึ่งแม่หรือผู้เลี้ยงดูจะต้องช่วยพยาบาลให้ทารกทุเลาอาการลง
อย่างไรก็ตาม อาการท้องอืดในเด็กสามารถป้องกันได้ ด้วยการอุ้มทารกขณะให้นม และหลังให้นมแล้วทำให้ทารกเรอ จากการได้คุ้นเคยกับทารกมากมาย พบว่า ในทารกที่ดื่มน้ำนมแม่ไม่ค่อยพบว่ามีอาการท้องอืดเหมือนทารกที่ดื่มน้ำนมผสมจากขวดทั้ง นี้เพราะน้ำนมแม่ย่อยง่ายกว่า น้ำนมแม่ไม่มีปฏิกิริยาที่ทำให้ทารกบางคนปวดท้อง และทารกบางคนเวลาให้ดูดนมจากขวด ดูดเอาลมเข้าไปมาก เพราะผู้ให้นมปฏิบัติไม่ถูกต้อง หรือให้ทารกดูดขวดนมเปล่า ๆ เป็นต้น
วิธีที่อยากให้ลองดูคือ (อาจไม่สามารถไล่ลมได้โดยตรงแต่จะทำให้น้องสบายตัวขึ้นค่ะ) ใช้วิธีนวดท้อง/ออกกำลังกาย ให้ลูกค่ะ่ลองดูนะคะ ทำง่าย 2 วิธีคือ
1. นวดท่า I Love You ค่ะ ให้น้องนอนหงาย คุณแม่ยืนหรือนั่งอยู่ด้านเท้าของลูก เอามือขวาวางบริเวณใต้ลิ้นปี่ด้านซ้ายของน้อง ลูบลงมาตรงๆถึงท้องน้อย (ตัว I) พูดไปด้วยว่า I
หลังจากนั้นเอามือขวาวางไว้ใต้ลิ้นปี่ข้างซ้ายของลูกแล้วลูบตรงๆไปด้านขวาของลูกแล้วลูบตรงๆมาถึงท้องน้อย (ตัว L กลับด้าน) พูดไปด้วยว่า Love
สุดท้ายเอามือขวาวางตรงท้องน้อยด้านขวาของลูก แล้วลูบตรงๆขั้นมาจนเลยสะดือเล็กน้อยแล้วทำ U Turn กลับลงมาทางด้านซ้ายของลูก (ตัว U คว่ำ) พูดว่า U ไปด้วย ทำสัก 3-4 ครั้งคะ เราทุกเกือบทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าอ้อมให้ แต่ระวังอย่างทำหลังกินนมใหม่ๆ น้องอาจแหวะนมได้ แล้วพยายามเลือกทำเวลาน้องอารมณ์ดีๆนะคะ

2. หลังอาบน้ำลองออกกายบริหารให้น้อง โดยยกขาน้องทำท่าถีบจักรยาน แล้วเอามือลูบท้องไปด้วย

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การบอกรักแม่ของลูกน้อย

มื่อลูกน้อยไม่สามารถพูกบอกรักคุณแม่ได้แต่ลูกน้อยสามารถแสดงอาการที่บอกเราได้ว่ารักคุณแม่นะคะ ซึ่งอาการที่จะแสดงออกนั้นคือ

สบตาปิ๊ง...ปิ๊ง แล้วยิ้มให้

           หนู น้อยในวัยนี้ แค่ได้ยินเสียงของคุณแม่ ก็จะรู้สึกตื่นเต้นและอยากจะพูดคุยด้วย ซึ่งในวัยนี้ดวงตาเล็ก ๆ จะมองเห็นได้ชัดเจนเพียงระยะแค่ 8-9 นิ้วเท่านั้น ดังนั้นการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีให้เขาก็คือ ช่วงเวลาให้นมลูกค่ะ ทั้งจากสัมผัสอันอ่อนโยนจากอ้อมแขน การมองหน้า สบตา และพูดคุยในขณะให้นม จะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 และมอบความรักความอุ่นให้กับลูก เมื่อได้รับความรักและการดูแลใจใส่อย่างเต็มที่แล้ว เขาก็จะมีความสุขและเริ่มส่งสัญญาณบอกแม่ว่า "หนูก็รักแม่นะ" ด้วยการมองหน้า สบตา และยิ้มตอบกลับมาให้ค่ะ

แม่หนูอยู่ไหน

           พอ เข้าสู่เดือนที่ 3-4 เวลานอนคว่ำลูกน้อยจะสามารถใช้มือยันอก พ้นพื้นได้ ช่วงวัยนี้ คุณแม่ควรปล่อยให้ลูกนอนคว่ำ หรือจับอุ้มพิงอกในท่านั่ง เพราะจะเป็นการฝึกชันคอได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ หนูน้อยก็มีพัฒนาการ ด้านการมองเห็นที่ดีขึ้น เริ่มมองตามสิ่งต่างๆ ได้ ดังนั้น ควรหาของเล่นมีเสียงมาเล่นกับลูก ด้วยการจับย้ายไปมาซ้ายขวาให้มองตามเสียง และเอื้อมมือ คว้าจับระหว่างเล่น ก็อาจมีการพูดเย้าแหย่ตามภาษาแม่ลูก แม้จะพูดไม่เป็นภาษา แต่ก็จะมีเสียงอ้อแอ้และรอยยิ้มเล็กๆ น่ารักโต้ตอบกลับมาว่า "หนูรักแม่จังเลย"

ส่งเสียงโต้ตอบได้แล้ว

           ใน วัย 5-6 เดือน ลูกน้อยสามารถพลิกนอนคว่ำหงายได้เอง และนั่งเอามือยันพื้นได้ มองเห็นได้ไกลยิ่งขึ้น ที่สำคัญ เขาสามารถส่งเสียงโต้ตอบเหมือนกับพูดกับคุณแม่รู้เรื่องเลยทีเดียวล่ะ เพราะมีความเข้าใจทางภาษามากยิ่งขึ้น ฉะนั้นถ้าอยากให้ลูกเป็นเด็กพูดเก่ง ฉลาด คุณแม่ก็ควรพูดคุยโต้ตอบกับลูกด้วยเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ และชัดเจน สัญญาณบอกรักก็ไม่แตกจากวัยที่ผ่านมาค่ะ อย่างเวลาที่คุณแม่เล่านิทาน หรือร้องเพลงพูดคุยกับลูก เขาก็จะสื่อสารโต้ตอบกลับมาเป็นเสียงอ้อแอ้ และส่งเสียงหัวเราะมากกว่าเดือนที่ผ่านอีกค่ะ

คืบคลานหาแม่


           เริ่ม เข้าสู่วัย 7-9 เดือน เขาจะนั่งทรงตัวและเริ่มคืบคลานได้เอง วัยนี้เป็นวัยที่ลูกน้อยชอบทำเสียงเลียนแบบ เช่น สัตว์ต่าง ๆ เวลาที่คุณแม่อ่านนิทานให้เขาฟัง หรือจะนำของเล่นชิ้นโปรดวางไว้ และเรียกชื่อเขา เพียงไม่นานก็จะรีบคลานมาหยิบไปเล่นค่ะ สัญญาณบอกเลิฟของลูกในวัยนี้ ก็เวลาที่คุณแม่เรียกชื่อเขา เพียงไม่นานก็จะคลานมาหาพร้อมแจกรอยยิ้มหวาน ๆ ให้คุณแม่ค่ะ ถ้าอยากได้รับรอยยิ้มแบบนี้บ่อย ๆ ก็กระตุ้นด้วยคำชมเชยทุก ๆ ครั้ง

สัมผัสอันอบอุ่น

           ยิ่ง คุณแม่โอบกอดลูกน้อยด้วยสัมผัสอันอ่อนโยนมากเท่าไหร่ ลูกน้อยก็ยิ่งรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และมีความสุขมากยิ่งขึ้นเท่านั้นค่ะ และทำให้เป็นเด็กอารมณ์ดี เลี้ยงง่าย มีรอยยิ้มหวาน ๆ แจกให้คนรอบข้างอยู่เสมอ และที่สำคัญ เขาก็จะรักคุณแม่มากยิ่ง ๆ ขึ้นด้วย

ที่มา : http://baby.kapook.com/

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

อาการเบื้องต้นของคนท้อง

เวลาคนท้อง จะมีอาการคนท้องเราจะพบว่าสิ่งต่างๆในร่างกายจะเปลี่ยนไป หลายอย่าง เช่น คลื่นไส้ หรือ อาเจียน หลังจากได้รับประทานอาหาร หรือบางครั้ง แค่แปลงฟัน อาจจะอาเจียนได้ง่าย สีของปัสวะอาจมีสีที่เข็มขึ้น ในบางราย น้ำหนักอาจจะลดลงด้วยลองดุสิว่าตัวคุณมีอาการนี้หรือเป่าถ้ามีเตรียมตัวเป็นคุณแม้ได้เลย
การเปลี่ยนแปลงของร่ายกาย
1. เต้านมจะใหญ่ขึ้น ฐานของหัวนม อาจมีสีที่เข็มขึ้นจนถึงกับดำ และจะมีการเจ็บหน้าอกขนาด ของเต้านมจะเริ่มขยายขึ้น หัวนมเจ็บและไวต่อสิ่งสัมผัส มีเส้นเลือดดำสีเขียวๆ ปรากฏขึ้นที่บริเวณผิวหนังรอบเต้านม หัวนมมีสีคล้ำขึ้นและตั้งชู
2. ปัสวะจะสีเข็มขึ้น และ จะปัสวะบ่อยๆ  เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้น ระหว่างตั้งครรภ์มีผลทำให้เลือดมาคั่งในเชิงกรานมาก เพื่อไปหล่อเลี้ยง ตัวอ่อนมากขึ้น ระบบปัสสาวะที่ต่อเนื่องถึงกันจึงได้รับผลกระทบไปด้วย กระเพาะปัสสาวะ จึงระคายเคืองและบีบตัวบ่อยขึ้น ทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย รวมทั้งต้องลุกมาเข้าห้องน้ำใน ตอนกลางคืนบ่อยๆ ด้วย
3. ปวดศรีษะได้ง่าย บางรายอาจมีอาการอาเจียนเป็นอาการ ที่พบบ่อยมากจนเป็นสัญลักษณ์ของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่มีอาการคลื่นไส้ อยาก อาเจียนหลังตื่นนอนในตอนเช้า บางรายอาจเป็นในช่วงเย็นๆ บางรายมีอาการต่อเนื่องกัน ตลอดทั้งวัน (แย่หน่อย) โดยเฉพาะตอนที่ท้องว่าง บางทีหิวแต่กินไม่ได้มาก ทำให้เกิด อาการวิงเวียนจะเป็นลม เนื่องจากมีน้ำตาลในเลือดต่ำ
4. น้ำหนักอาจลดได้เนื้องจากปัจจัย จากการแพ้ท้องเบื้องต้น
5. มีอาการปวดหลัง
6. ฝ้าขึ้น
7. การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่มีผลต่อการเติมโตของเด็ก เช่น ท้องเริ่มลาย เต้านมมีเส้นเลือดใหญ่ขึ้น
8. กินอาหารไม่อร่อย หรืออยากกินของแปลกๆ
ฮอร์โมน ที่เพิ่มระดับขึ้นในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ทำให้การรับรู้รสชาติของคุณแม่เปลี่ยน แปลงไป ทำให้รู้สึกกินไม่อร่อย ทั้งที่เป็นของที่เคยชอบมาก่อน บางทีอยากกินของแปลกๆ ที่ไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมจึงอยากกิน

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ยังตั้งครรภ์ได้หรือไม่

         ในการตั้งครรภ์สิ่งที่คุณแม่ต้องดูแลและใส่ใจมากที่สุดคือลูกน้อยภายในครรภ์ของเราโดยเฉพาะช่วงแรกๆเพราะเป็นช่วงที่มีความเสียมากที่จะเกิดการแท้งได้ แต่สิ่งสำคัญที่เราต้องดูแลไปพร้อมๆกับลูกน้อยคือสามีตัวดีของเรา หากเราละเลยแล้วสามีตัวดีอาจจะไปมีเล็กมีน้อยก็ได้ ซึ่งปัญหาที่คุณแม่หลายคนสงสัยก็คือถ้ามีเพศสัมพันธ์กันในช่วงที่ฝ่ายหญิงกำลังตั้งครรภ์อยู่ จะอันตรายหรือส่งผลอะไรต่อทารกในครรภ์หรือเปล่า วันนี้มาไขข้อข้องใจกันค่ะ
          ในช่วงตั้งครรภ์นั้น ฝ่ายคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์จะมีน้ำมีนวลมากขึ้น เต้านมจะขยายใหญ่ขึ้น นอกจากนั้นยังมีความรู้สึกที่ไวขึ้นกว่าปกติ นั้นทำให้ผู้หญิงหลายคนถึงจุดสุดยอดได้บ่อยกว่าตอนที่ยังไม่ตั้งครรภ์ด้วย นอกจากนั้นหากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ได้ถึงจุดสุดยอด สารแห่งความสุขจะส่งต่อไปยังทารกในครรภ์ ทำให้ทารกในครรภ์มีความสุขไปด้วย ทั้งนี้อย่าไปกังวลแทนว่าทารกในครรภ์จะรู้สึกไม่ดีที่พ่อมามีเพศสัมพันธ์กับ แม่ เพราะทารกในครรภ์ยังไม่สามารถแยกแยะได้หรอกค่ะ แต่ทารกจะสามารถรับรู้ความรู้สึกที่แม่รู้สึกได้ทั้งนี้ก็มีคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อีกหลายรายที่กลับมีความรู้สึกไม่ สบายตัว และไม่ค่อยมีความรู้สึกถึงการอยากมีเพศสัมพันธ์นัก แต่ก็มีอีกหลายรายที่ฝ่ายหญิงนั้นกลับเปลี่ยนแปลงและมีความรู้สึกต่อการมี เพศสัมพันธ์มากขึ้น (บางคนขณะตั้งครรภ์กลับมีความต้อการทางเพศมากขึ้นกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด) แต่บางคนกลับต้องการน้อยลง   หลายคนสงสัยว่าในช่วงที่ตั้งครรภ์นั้นสามีและภรรยายังคงสามารถมีเพศ สัมพันธ์กันเหมือนเดิมได้มั้ย ในทางการแพทย์ยังคงสนับสนุนให้ทำได้ตามปกติค่ะ แต่มีข้อห้ามสำหรับคนเพียงบางกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงสูง หรือบางกรณีแพทย์อาจจะต้องห้ามไม่ให้มีเพศสัมพันธ์ตลอดการตั้งครรภ์เลย หรือบางคนอาจแค่ถูกห้ามไม่ให้ถึงจุดสุดยอดหรือห้ามสอดใส่อวัยวะเพศชาย เป็นต้น ซึ่งจะห้ามแบบไหนนั้นก็แล้วแต่กรณีไป ดังนั้นคู่สมรสจะต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้ว่าควรจะปฏิบัติตัวเองอย่างไร
  ส่วนการตั้งครรภ์ที่ควรจะงดการมีเพศสัมพันธ์ได้แก่
-  มีเลือดออกทางช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ
-  มีประวัติเคยแท้งบุตรมาก่อน โดยจะงดเพียงแค่ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
-  มีประวัติเคยคลอดก่อนกำหนด โดยจะงดเพียง 8 - 12 สัปดาห์สุดท้ายก่อนถึงกำหนดคลอด
-  มีการรั่วหรือแตกของถุงน้ำคร่ำ
-  การตั้งครรภ์ที่มีรกต่ำ ใกล้ปากมดลูก การมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้มีเลือดออกและรกลอกตัวได้
-   การตั้งครรภ์แฝด ควรงดเว้นมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนถึงกำหนดคลอด

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

ลูกนอนสะดุ้ง

ลูกนอนสะดุ้ง




          นอนสะดุ้งเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับโดยอัตโนมัติ (Reflex) ของเด็กทารกทุกคน แค่คุณแม่ ทำให้เกิดเสียงดัง หรือทำให้เกิดการสั่นสะเทือนกับบริเวณที่ลูกนอนอยู่เบาๆ ลูกน้อยจะมีปฏิกิริยาตอบกลับด้วยการขยับแขนขาในทันที  ดังนั้น เมื่อมีสิ่งมากระตุ้น เช่น เสียงพูดคุยหรือเปิดประตู ก็อาจทำให้ลูกสะดุ้งตกใจได้ เมื่อลูกโตขึ้นปฏิกิริยาเหล่านี้ก็จะค่อยๆ หายไป ไม่แนะนำให้ใช้ผ้าห่มปิดทับหน้าอก เพื่อกันการสะดุ้งหรือผวาให้ลูกน้อย เพราะบ้านเราเป็นเมืองร้อน อาจทำให้เหงื่อออกเกิดการอับชื้น เป็นผดผื่นที่ผิวหนังตามมาได้
การแก้ไขลูกนอนสะดุ้งสิ่งที่คุณแม่ต้องดูแล เช่น
1.     ลูกดูดขวดนมเปล่าหลังนมหมดไม่ดึงออก ทำให้ลมเข้าท้องน้องหนูท้องอืดโดยคุณแม่ไม่ทราบ
2.     ตรวจดูว่าจุกนม เหมาะกับวัยของหนูหรือไม่ เพราะน้ำนมไหลเร็ว หรือ ช้า ทำให้หนูเหนื่อย ทุกครั้งที่ดูดนม
3.     อย่าปิดฝานมจนแน่นเกิน เพราะหนูต้องใช้แรงดูด มากกว่าปรกติ ทำให้หนูเหนื่อย และอาจฝันร้าย
4.     สำคัญมากที่คุณแม่ละเลย ถ้าหนูทานอาหารย่อยยาก ท้องใส้ปั่นป่วน ควรดูแลให้อาหารเหมาะสมต่อการทำงาน
        ของร่างกาย เช่น คุณแม่มักให้ลูกทานไข่ตั้งแต่ 6 เดือน โดยไม่รู้ว่าไข่แดง ไม่เหมาะสมกับวัยนี้ เพราะย่อยยาก
4.     ตรวจดูหนูหน่อยคะว่าใส่ผ้าอ้อมกันเปือกชื้นให้หนูหรือไม่ ถ้าใส่แล้วตรวจดูว่าคุณภาพดีซืมซับเร็วหรือเปล่า
        เพราะหนูไม่ชอบเปือกชื้น
5.     ไม่เล่นโลดโผน ให้หนูตกใจบ่อย ๆ เพราะหนูอาจเป็นเด็กขวัญอ่อน ( ปรกติทั่วไปในเด็กทารกถึง 3 ขวบ )
6.     ถ้าหนูไม่เคยฝึกนอนคว่ำตั้งแต่แรกเกิด ให้นอนตะแคงขวา หาผ้าห่มบริเวณหน้าอก โดยเอาแขนมาทับไว้
7.     ถ้าคุณแม่ให้นอนหงาย ให้ใช้ผ้าวางบนหน้าอกและด้านข้างให้รอบข้างสัมผัสในลักษณะห่อตัวเล็กน้อย

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์

การวางแผนเพื่อเตรียมตัวที่จะให้กำเนิดลูกน้อยเป็นเรื่องสำคัญที่คู่สมรส สามารถทำได้ นอกจากจะทำให้คุณมีโอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์แล้ว คุณยังสามารถมีโอกาสได้ลูกน้อยซึ่งสมบูรณ์ และเป็นปรกติที่สุดอีกด้วย โดยคุณทั้งคู่ควรวางแผนอย่างน้อย 3 เดือนล่วงหน้าก่อนเริ่มตั้งครรภ์ เพียงแค่ดูแลตัวเองและเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการให้กำเนิดและการเติบโต ของชีวิตน้อยๆ  ส่วนคู่รักของคุณ เพียงแค่แน่ใจว่าอสุจิของเขาแข็งแรงพอที่จะวิ่งไปถึงเส้นชัยก็พอแล้ว
1. ตรวจสอบร่างกายเพื่อป้องกันโรคต่างๆเช่น
1) โรคประจำตัว
หากคุณมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ, โรคลมชัก, โรคหืด, โรคไต ควรปรึกษาแพทย์ก่อนมีครรภ์เสมอ เพราะอาจต้องเปลี่ยนยาซึ่งอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ หรืออาจทำให้ตั้งครรภ์ได้ยาก คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะถ้าได้แพทย์ดูแลคุณอย่างใกล้ชิด ก็มีโอกาสที่จะมีลูกที่สมบูรณ์ได้
2) หัดเยอรมัน (Rubella)
หาก คุณไม่เคยมีภูมิต้านทานโรคหัดเยอรมันและติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก เพราะเป็นช่วงที่ทารกกำลังสร้างอวัยวะภายในที่ซับซ้อน จะทำให้ลูกมีโอกาสเกิดความพิการได้ เช่นหูหนวก, ตาบอด, สมองเล็ก, หัวใจรั่ว หากเป็นไปได้ควรให้แพทย์ตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมันก่อนการตั้งครรภ์ เสมอ ถ้ายังไม่มีภูมิคุ้มกัน แพทย์จะฉีดวัคซีนให้และคุณควรคุมกำเนิดหลังฉีดวัคซีนนี้อย่างน้อย 3 เดือน (ถ้าคุณตั้งครรภ์แล้ว ห้ามฉีดวัคซีนนี้ตลอดระยะการตั้งครรภ์)
3) โรคทางกรรมพันธุ์
ตาม ประวัติของครอบครัวคุณทั้งสองฝ่ายมีโรคกรรมพันธุ์หรือไม่ เพราะโรคบางชนิดสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เช่น ฮีโมฟีเลีย (Haemophilia) คือโรคที่เลือดไหลไม่หยุด เกิดจากการขาดสารที่ช่วยในการสร้างลิ่มเลือดในตับ ดังนั้น หากมีบาดแผลเกิดขึ้นที่ใดก็ตามเลือดจะออกไม่หยุด หรือโรคทาลัสซีเมีย (Thalassemia) คือโรคโลหิตจาง หรือโรคซีด ในประเทศไทยมีคนเป็นโรคนี้มากโดยเฉพาะแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสาน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ลูกคุณก็มีโอกาสเป็นโรคเหล่านี้ได้ ฉะนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์ และอาจต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมโดยเฉพาะ เพื่อตรวจสอบว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้มากน้อยเพียงใด

2.อาหารและการออกกำลังกาย:
การมีน้ำหนักมากหรือน้อยเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ เพราะฉะนั้นควรออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่หลากหลายอย่างเหมาะสมเพื่อ ช่วยให้ร่างกายอยู่ในสภาพพร้อมเต็มที่สำหรับการตั้งครรภ์ลูกน้อย
หาก เป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารที่มีไขมันหรือน้ำตาลมากเกิน ไป นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญกับอาหารที่มีคุณค่าดังนี้
ทานผักและผลไม้มากๆ หรืออย่างน้อย 5 ส่วนต่อวันและควรเลือกทานผักและผลไม้หลากหลายสีสัน
ทาน อาหารประเภทแป้งให้เพียงพอ เช่น ขนมปัง พาสต้า ข้าว (ถ้าเป็นข้าวกล้องหรือขนมปังโฮลเกรน จะยิ่งดีเพราะมีโฟเลตสูง) ข้าวโอ๊ต และมันฝรั่ง
ทานอาหารประเภทโปรตีนทุกมื้อ เช่น หมูหรือไก่ไม่ติดมัน ปลา (สัปดาห์ละสองครั้ง) นม ไข่ ผลไม้ที่มีเปลือกแข็ง  (เช่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์) เมล็ดพืชและถั่ว (เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง)

3.วิตามินเสริม:
หากคุณรับประทานอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสมแล้ว ก็อาจไม่จำเป็นต้องทานวิตามินเสริมอีกก็ได้ แต่หากต้องการทาน  ควรสอบถามให้แน่ใจว่าวิตามินเหล่านั้นเหมาะสำหรับสตรีที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ หรือไม่ โดยทั่วไปวิตามินเสริมที่รับประทานเป็นประจำ มักมีส่วนผสมของวิตามินเอ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้หากรับประทานมากเกินไป
4. น้ำหนักตัว
ถ้าเป็นไปได้คุณแม่ควรมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เมื่อคิดตามส่วนสูงเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนก่อนตั้งครรภ์ ถ้าน้ำหนักมากหรือน้อยเกินไป ควรพบแพทย์เพื่อควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม ระหว่างตั้งครรภ์ไม่ควรลดความอ้วน เพราะจะทำให้ทารกขาดสารอาหารที่จำเป็น
5. อายุ
อายุ ที่เหมาะสมจะมีบุตรของผู้หญิงเราคือ อายุ 20 - 30 ปี แต่ปัจจุบันผู้หญิงแต่งงานช้าลงและมีบุตรเมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้น หากคิดจะมีลูกเมื่ออายุเกิน 35 ปี ควรปรึกษาแพทย์ เพราะยิ่งมีลูกตอนอายุมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะมีลูกยากหรือมีลูกไม่สมบูรณ์ก็สูงขึ้นเท่านั้น
6. เวลา
หาก คุณทั้งคู่ทำงานหนัก แทบจะไม่มีเวลาพักผ่อน หรือแม้กระทั่งเวลาส่วนตัว คงต้องคิดทบทวนดูให้ดีก่อนจะมีลูก เพราะเด็กๆ ต้องการความรัก, ต้องการเวลา และความอบอุ่นจากพ่อแม่ เพื่อคอยดูแลเอาใจใส่เค้าตั้งแต่เป็นทารกแรกเกิดจนเติบโต เวลาสำหรับสังสรรค์กับเพื่อน, เข้าสังคม เที่ยวเตร่เฮฮา หรือแม้แต่เวลาส่วนตัวจะลดน้อยลงเต็มทีเมื่อคุณมีลูก
7. การเงิน
คุณ ควรคำนึงถึงความสามารถในการหารายได้ และขนาดของครอบครัวที่คุณต้องการว่าเหมาะสมกันแค่ไหน เพราะค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูลูก เรื่องอาหารการกินอยู่ เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ จิปาถะฯ ปรกติจะตกประมาณ 15 - 25% ของรายได้ครอบครัว หากคิดจะมีลูกก็ควรวางแผนในการเก็บเงิน และการใช้จ่ายเงินทองให้ดี เพื่อจะได้ไม่ทำให้เกิดภาวะการเงินฝืดเคืองจนมีหนี้สินจำนวนมาก เป็นการนำความเครียดมาสู่ครอบครัวโดยใช่เหตุ